icon

งานพัฒนาท้องถิ่น : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    นับจาก พ.ศ. 2515 จนถึง พ.ศ. 2558 รวมเวลา 43 ปี ที่มหาวิทยาลัยได้เริ่มก่อตั้งจาก วิทยาลัยครูจันทบุรีมาเป็นวิทยาลัยรำไพพรรณี ในปี พ.ศ.2528 ในปี พ.ศ.2538 ได้รับสถาปนาเป็นสถาบันราชภัฏรำไพพรรณี และเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยมีประวัติความเป็นมาโดยลำดับดังนี้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เดิมมีชื่อว่า หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของวิทยาลัยครูจันทบุรี ถือกำเนิดจากประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการจัดตั้งวิทยาลัยครูจันทบุรี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2515 มีภารกิจในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้นักศึกษาครูหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง) โดยได้เริ่มภารกิจครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2515 ปี พ.ศ. 2518 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 กำหนดหน้าที่ของวิทยาลัยครู 5 ประการ คือ ผลิตครูระดับปริญญาตรี ค้นคว้าศึกษาวิจัย ฝึกอบรมบุคลากรการศึกษาประจำการทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและให้บริการแก่ชุมชน หมวดวิชาวิทยาศาสตร์จึงเปลี่ยนเป็นคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีภารกิจ ในการผลิตบัณฑิตสาขาครุศาสตร์ระดับปริญญาตรี (ค.บ.) เป็นครั้งแรกเพื่อตอบสนองความต้องการครูของประเทศ คณะวิชาวิทยาศาสตร์ในระยะนั้นประกอบด้วย ภาควิชา 9 ภาควิชา คือ ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ภาควิชาสุขศึกษา ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์ ภาควิชาพลศึกษา และภาควิชาเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2527 กำหนดให้วิทยาลัยครูเปิดสอนได้ 3 สาขา คือ สาขาครุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาศิลปศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ขยายภารกิจเพิ่มขึ้น คือ ได้ผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรี (วท.บ.) และอนุปริญญา (อ.วท.) เป็นครั้งแรกและมีภาควิชาสังกัด 8 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาควิชาคณิตศาสตร์ และสถิติ ภาควิชาหัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์ และภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ปี พ.ศ. 2528 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เป็นนามของมหาวิทยาลัยว่า “วิทยาลัยรำไพพรรณี” ปี พ.ศ. 2538 พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏมีผลบังคับใช้ทำให้วิทยาลัยรำไพพรรณีเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏรำไพพรรณี และคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็น“คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ผู้บริหารคณะเรียกว่า คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี พ.ศ. 2542 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการในสถาบันราชภัฏรำไพพรรณี ได้กำหนดการแบ่งส่วนราชการในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการคณะและโปรแกรมวิชา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดแบ่งการบริหาร คณะเป็น 8 กลุ่มวิชา ดังนี้ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ กลุ่มวิชาคหกรรมศาสตร์ กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มวิชาเคมี กลุ่มวิชาชีววิทยา กลุ่มวิชาฟิสิกส์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปี พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี จึงเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เพื่อทำหน้าที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดแบ่งการบริหารคณะเป็น 7 ภาควิชา ดังนี้ ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และภาควิชาสถิติ

icon

ภาพข่าวกิจกรรม / โครงการพัฒนาท้องถิ่น

คณะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจัดโครงการพัฒนาครูโดยใช้ปะกา...

  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี และมูลนิธิรักษ์ปะการัง โดยความอุปถัมภ์ของ บมจ.เอจีซีวีนิไทย จัดโครงการพัฒนาครูโดยใช้ปะการังเป็นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้เรื่องทะเลและชายฝั่ง ปีที่ 2 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และเ...

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ร่วมกับพันธมิตร 5 หน่วยงาน ลงนามพิธีต่ออายุบันทึกข้อตกลงความ...

29 มีนาคม 2567 ผศ.วิชลัดดา อุ่นสะอาด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี พร้อมด้วย ผศ.ดร. ดวงกมล กิจควร รองคณบดีฝ่ายวิจัย และนวัตกรรม ผศ.ดร.ชุตาภา คุณสุข หัวหน้าโครงการพัฒนาเครือข่ายฟื้นฟูปะการังและสร้างแหล่งเรียนรู้ และอาจารย์ ดร.เสาวภา สุราวุธ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา เข...

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในพื้นที่ตำ...

อาจารย์ ดร.อุรชา วานิช หัวหน้าโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากสำรอง จัดอบรมเพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารจากสำรอง ได้เเก่ การเเปรรูปสำรองเป็นวุ้นกรอบสำรอง และวุ้นสำรอง อาหารเพื่อสุขภาพ ให้แก่วิสาหกิจชุมชนนิเวศพิพิธภัณฑ์ชองบ้านช้างทูน ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดยไ...

โครงการฟื้นฟูปะการังฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ร่วมขับเคลื่อนโครงการระดมความคิดเห็น ก...

10-11 ธันวาคม 2566 ผศ.ดร.ชุตาภา คุณสุข หัวหน้าโครงการฟื้นฟูปะการังฯ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เข้าร่วมโครงการระดมความคิดเห็น การจัดทำพื้นที่คุ้มครองและมาตรการคุ้มครอง เกาะหมาก  จังหวัดตราด โดยมีรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก นายนพดล สุทธิวัฒนะกูล เป็นประะ...

โครงการฟื้นฟูปะการัง ร่วมกับภาคีเครือข่ายมูลนิธิรักษ์ปะการัง และเอจีซีวีนิไทย มอบฐานฟื้...

วันที่ 4-5 ธันวาคม 2566 ผศ.ดร.ชุตาภา คุณสุข หัวหน้าโครงการฟื้นฟูปะการังฯ พร้อมด้วยเครือข่ายการอนุรักษ์ปะการัง ได้เเก่ มูลนิธิรักษ์ปะการัง โดยความอุปถัมภ์ของบมจ.เอจีซีวีนิไทย สถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง ร่วมกันมอบฐานฟื้นฟูปะการัง และเรือเพื่อการทำงานอนุรักษ์ปะการัง และง...

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ สำนักบริการวิชาการ ขับเคลืื่่อนงานวิจัยการอนุรักษ์ และพัฒน...

24 มิถุนายน 2566 ภาควิชาชีววิทยา นำโดยอาจารย์ ดร.เสาวภา สุราวุธ หัวหน้าทีมวิจัยทรัพยากรเห็ด ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ (อพ.สธ.มร.รพ.) เข้าสำรวจความหลายทางชีวภาพของเห็ดในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อุทยานเเห่งชาติน้ำตกพลิ้ว โดยมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เข้าร่วมสำรวจในครั้งนี้ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เ...

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ จัดโครงการอบรมบริการวิชาการการแปรรูปอาหาร เพื่อหนุนเสริมโร...

22 มิถุนายน 2566 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ สำนักบริการวิชาการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากเร่วและเห็ด ณ โรงเรียนมัธยมท่าแคลง ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุตาภา คุณสุข รองผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธ...

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ดำเนินโครงการเพาะเห็ดกินได้ ครั้งที่ 2 และการแปรรูปผลิตภัณ...

25 พฤษภาคม 2566 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดโครงการเห็ดกินได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 2 โดย อ.ดร.เสาวภา สุราวุธ  และโครงการการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากเห็ด โดย อาจารย์นฤมล อภินันท์สวัสดิ์ ณ โรงเรียน ตชด.บ้านคลองแดง ตำบลพวา อำเภอเเก่งหางแมว...